วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง การจำแนกสัตว์

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง การจำแนกสัตว์

สัตว์ต่างๆ ในโลกนี้มีธรรมชาติและรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันมากมาย เช่น
- ขนาด สัตว์บางชนิดมีขนาดใหญ่ เช่น วาฬ ช้าง สิงโต เป็นต้น สัตว์บางชนิดมีขนาดเล็กมาก เช่น หมัด มด ยูง เป็นต้น
- รูปร่างลักษณะ สัตว์บางชนิดมี 4 ขา เช่น ช้าง ม้า วัว เป็นต้น บางชนิดมี 2 ขา เช่น นก เป็ด ไก่ เป็นต้น บางชนิดไม่มีขา เช่น งู ไส้เดือน เป็นต้น บางชนิดมีขามากมาย เช่น กิ้งกือ ตะขาบ เป็นต้น
- แหล่งที่อยู่อาศัย สัตว์บางชนิดอาศัยบนบก บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่บนต้นไม้
- การเจริญเติบโต สัตว์บางชนิด มีการเจริญเติบโตแตกต่างกัน สัตว์บางชนิดเจริญเติบโตโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะ เพียงแต่ตัวจะโตขึ้นเท่านั้น เช่น แมว ม้า ช้าง เป็นต้น แต่สัตว์บางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะในระหว่างที่มันเจริญเติบโต เช่น ยุง ผีเสื้อ กบ เป็นต้น

ในการจำแนกสัตว์นั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้จำแนกสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น อุณหภูมิร่างกาย การหายใจ การสืบพันธุ์ และกระดูกสันหลัง เป็นต้น ในการจำแนกสัตว์มีความคล้ายคลึงกับการจำแนกพืช คือ มีเกณฑ์หลายเกณฑ์ที่ใช้ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกสัตว์มีดังเช่น

1.เกณฑ์ที่ใช้กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์จะสัตว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1. สัตว์มีกระดูกสันหลัง ถ้าแบ่งตามอุณหภูมิร่างกายได้ 2 กลุ่ม คือ
- สัตว์เลือดเย็น เช่น จำพวกปลา (ปลาต่าง ๆ) จำพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (กบ)
และจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน (เต่า)
- สัตว์เลือดอุ่น เช่น จำพวกสัตว์ปีก (นก) และจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (สุนัข
ช้าง คน)
1.2. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ถ้าแบ่งตามลักษณะเด่นได้ 3 กลุ่มคือ
- พวกลำตัวเป็นโพรง เช่น จำพวกลำตัวพรุน (ฟองน้ำหินปูน) และจำพวกลำตัว มีโพรง (แมงกะพรุน)



- พวกลำตัวคล้ายหนอน เช่น จำพวกหนอนตัวแบน (พยาธิตัวตืด) จำพวกหนอน ตัวกลม (พยาธิไส้เดือน) และจำพวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน)




- พวกมีเปลือกแข็งหุ้มภายนอก เช่น จำพวกมีขาเป็นข้อ (ผีเสื้อ) จำพวกลำตัวนิ่ม(หอย) และจำพวกสัตว์ทะเลผิวขรุขระ (ดาวทะเล)




2.เกณฑ์ที่ใช้ลักษณะสำคัญเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
2.1 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู โลมา วาฬ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญ สัตว์ชนิดนี้มีต่อมน้ำนมไว้สำหรับเลี้ยงลูกอ่อนของมัน ร่างกายปกคลุมด้วยขนแบบเส้น หายใจด้วยปอด
แหล่งที่อยู่อาศัย สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่บนบก แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำและมีรูปร่างคล้ายปลา เช่น วาฬ โลมา พะยูน
อาหาร สัตว์ประเภทนี้มีทั้งชนิดที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร
2.2 สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จระเข้ งู เต่า จิ้งจก เป็นต้น
ลักษณะสำคัญ สัตว์ชนิดนี้ร่างกายมีผิวหนังที่เป็นเกล็ดแข็งแห้งปกคลุม หรือมีกระดองแข็งหุ้มทั้งตัว หายใจด้วยปอด
แหล่งที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก บางชนิดอาศัยในน้ำ แต่สามารถคลานมาอยู่บนบกได้
อาหาร ได้แก่ แมลง หรือสัตว์ขนาดเล็ก
2.3 ปลา เป็นสัตว์น้ำ อาศัยทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม
ลักษณะสำคัญ ปลามีรูปร่างเรียวยาวลำตัวค่อยข้างแบน ผิวหนังมีเกล็ดและมีเมือกลื่น ๆ ปกคลุม มีครีบ ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัว หายใจด้วยเหงือก
แหล่งที่อยู่อาศัย อาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม
อาหาร ได้แก่ พืชน้ำ และสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลง
2.4 สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก เช่น กบ อึ่งอ่าง คางคก ปาด เขียด
ลักษณะสำคัญ เป็นสัตว์สี่เท้า ลำตัวปกคลุมด้วยผิวหนังอ่อนนุ่มและเปียกชื้นตลอดเวลา ตัวอ่อนของสัตว์ชนิดนี้หายใจโดยใช้เหงือก ส่วนตัวเต็มวัยหายใจโดยใช้ปอด
แหล่งที่อยู่อาศัย เมื่อตัวอ่อน (ลูกอ๊อด) ออกจากไข่จะอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จึงขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก
อาหาร ลูกอ๊อดกินพืชน้ำเป็นอาหารและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยกินแมลงและหนอน
2.5 สัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด เป็นต้น
ลักษณะสำคัญ เป็นสัตว์สองเท้า และมีปีก 1 คู่ ร่างกายปกคลุมด้วยขนที่มีก้าน กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรงทำให้ตัวเบา หายใจด้วยปอด
แหล่งที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่อาศัยบนบก
อาหาร ได้แก่ เมล็ดข้าวชนิดต่าง ๆ ผลไม้ แมลง หนอน บางชนิดกินปลา หอย ปู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น