วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 5.6 เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 5.6 เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์

การคุ้มครองและสงวนรักษาพันธุ์สัตว์
การทำลายสัตว์ก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากมาย รัฐบาลได้ออกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่า เรียกว่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้น โดยให้ความหมายของสัตว์ป่าไว้ ดังนี้
สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำอย่างอิสระในธรรมชาติ ไม่มีใครเลี้ยงดูและเป็นเจ้าของ รวมทั้งไข่ของมัน

ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก ห้ามล่าโดยเด็ดขาด และห้ามมีไว้ในครอบครอง มี 15 ชนิด
1) นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 9) กวางผา
2) แรด 10) นกแต้วแล้วท้องดำ
3) กระซู่ 11) นกกระเรียน
4) กูปรีหรือโคไพร 12) แมวลายหินอ่อน
5) ควายป่า 13) สมเสร็จ
6) ละองหรือละมั่ง 14) เก้งหม้อ
7) สมันหรือเนื้อสมัน 15) พะยูนหรือดุหยง
8) เลียงผา

2. สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่มีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกอบด้วยสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 หมายถึง หมายถึง สัตว์ป่า ซึ่งคน ไม่ใช้ เนื้อเป็นอาหาร ไม่ล่าเพื่อการกีฬา เป็นสัตว์ที่ทำลายศัตรูพืช หรือขจัดสิ่งปฏิกูล หรือเป็นสัตว์ป่าที่ควรสงวนไว้เพื่อประดับความงามตามธรรมชาติหรือสงวนไว้เพื่อไม่ให้ลดจำนวนลง สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 นี้ ห้ามไม่ให้ล่าด้วยวิธีทำให้ตาย เว้นแต่จะทำเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ สัตว์ป่าประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นนก ได้แก่ นกกาน้ำทุกชนิด นกกระสา นกกระทาดง ไก่ฟ้าทุกชนิด นกโกโรโกโส นกกะปูด นกกะเต็น นกกางเขนบ้าน นกเขา นกเค้าแมวทุกชนิด นกเงือกทุกชนิด นกตีทอง ฯลฯ นอกนั้น ได้แก่ ค่างทุกชนิด ชะนีทุกชนิด ชะมด บ่าง แมวป่า ลิงลมหรือนางอาย ลิงทุกชนิด เสือลายเมฆ เสือไฟ เสือปลา หมีขอ หรือบินตุรง หมูหริ่ง หมาหริ่ง อีเห็น เป็นต้น
2) สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 หมายถึง หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งตามปกติ คนใช้เนื้อเป็นอาหาร หรือล่าเพื่อการกีฬา สัตว์ป่าประเภท มีหลายชนิด เช่น กระทิง กระจงทุกชนิด กวาง วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว หมีควายหรือหมีดำ หมีหมา หรือหมีคน ส่วนใหญ่ เป็นสัตว์ประเภทนกอีกเช่นเดียวกัน ได้แก่ นกกระสา นกกระทา ไก่ป่า นกแขวก นกเป็ดน้ำ นกปลาซ่อม ทุกชนิด นกพริก นกอีลุ้ม ฯลฯ สัตว์ป่า คุ้มครองประเภทที่ 2 นี้ ตามกฎหมายอนุญาตให้ล่าได้ ให้มีไว้ใน ครอบครองได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต และมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ตลอดเวลา

จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ห้ามมิให้ผู้ใดล่าและมีไว้ในครอบครอง ยกเว้น
1) เพื่อการสำรวจ 3 ) เพื่อการเพาะพันธุ์
2) เพื่อการศึกษา และการวิจัยทางวิชาการ 4 ) เพื่อกิจกรรมสวนสาธารณะของทางราชการ

ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ควรทราบมีดังนี้
· สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าชนิดใด ห้ามล่าสัตว์ เก็บรัง ครอบครองที่ดิน แผ้วถาง หรือเปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
· การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
· ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน
http://www.ku.ac.th/AgrInfo/wild/index.html
http://www.msu.ac.th/satit/studentProj/2547/pj102-2-2547/g03-Biological/A.htm

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.5 เรื่อง สารปรุงแต่งอาหาร

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.5 เรื่อง สารปรุงแต่งอาหาร
นอกจากที่เราจะต้องรับประทานอาหารให้ร่างกายได้รับพลังงานเหมาะสมตามความต้องการของร่างกายแล้วนั้น เรายังต้องรับประทานอาหารที่ดี นั่นคือรับประทานอาหารที่ไม่ใส่วัตถุปรุงแต่งอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเราสามารถตรวจสอบได้จากฉลากข้อมูลทางโภชนาการ ซึ่งจะบอกให้เราทราบถึงชนิดและปริมาณของวัตถุที่ปรุงแต่งอยู่ในอาหารนั้นๆ และที่สำคัญเราควรสังเกตตราสัญลักษณ์รับรองอาหารที่ได้มาตรฐานอีกด้วย
สัญลักษณ์ขององค์การอาหารและยา

สารปรุงแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสดีขึ้น เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ และให้รสชาติต่างๆ เช่น
- น้ำตาล ให้รสหวาน - เกลือ น้ำปลา ให้รสเค็ม - น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว
ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร โดยใช้ที่มาของสารเป็นเกณฑ์
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น

ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร โดยใช้อันตรายของสารเป็นเกณฑ์แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ได้แก่ 1.1 สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ ได้แก่ สีเขียว จากใบเตยหอม พริกเขียว สีเหลือง จากขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ลูกตาลยี ไข่แดง ฟักทอง ดอก คำฝอย สีแดง จากดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศ พริกแดง ถั่วแดง ครั่ง สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัญ สีดำ จากกากมะพร้าวเผา ถั่วดำ ดอกดิน สีน้ำตาล จากน้ำตาลเคี่ยวไหม้ หรือคาราเมล 1.2 สารเคมีบางประเภท ได้แก่ 1.2.1 สารเคมีประเภทให้รสหวาน เช่น น้ำตาลทราย กลูโคส แบะแซ 1.2.2 สารเคมีบางประเภทให้รสเปรี้ยวในอาหาร เช่น กรดอะซีติก (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว) 1.2.3 สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น เช่น น้ำนมแมว หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ 2. ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้เกินขอบเขต 2.1 สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี แม้กฎหมายกำหนดให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน 2.2 ผงชูรส เป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียม กลูตาเมท ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง หรือ จากกากน้ำตาล ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น ปลายทั้ง 2 ข้างโตและมัน ตรงกลางคอดเล็กคล้ายกระดูก ไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม ปริมาณที่ใช้ควรเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีอาการแพ้ผงชูรสได้ ควรใช้ผงชูรสประมาณ 1/500-1/800 ส่วนของอาหารหรือประมาณ 1 ช้อนชาต่ออาหาร 10 ถ้วยตวง และไม่ควรใช้ผงชูรสในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์ 2.3 สารเคมีที่ใช้กันเสียกันบูด เป็นสารประกอบทางเคมีหรือของผสมของสารประกอบที่ใช้เติมลงในอาหาร เพื่อชะลอการเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บอาหาร โดยจะไปทำให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หยุดชะงักหรือตายได้ กรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเลือกวัตถุกันเสียที่ปลอดภัยและใช้ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร 3. ประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารน่ารับประทานเก็บได้นานรวมทั้งราคาถูก และจากการตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐพบว่า มีการใช้สารเคมีที่กฎหมายห้ามใช้ในการปรุงแต่งในอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคถึงชีวิต

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.4 เรื่อง พฤติกรรมการกินอาหาร

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย ได้มี "ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย" (Food Based Dietary Guildlines) 9 ข้อ ดังนี้
1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
ข้อแนะนำนี้เป็นข้อแนะนำหลัก ยึดอาหารหลัก 5 หมู่ และเพิ่มความสำคัญของการกินอาหารแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจอยู่เพียงอาหารไม่กี่ชนิด น้ำหนักตัวเป็นเครื่องบ่งชี้อย่างง่ายถึงภาวะสุขภาพ ในผู้ใหญ่ที่กินอาหารได้เหมาะสมจะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม มีรูปร่างที่ไม่อ้วนหรือผอมเกินไปและมีน้ำหนักตัวค่อนข้างคงที่ หากสังเกตเห็นว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากน้ำหนักปกติ แสดงให้เห็นว่าเริ่มกินอาหารมากเกินไปแล้ว ควรจะต้องหันมาควบคุมลดปริมาณให้น้อยลง โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เสื้อผ้าคับก่อนที่เริ่มรู้สึกตัวเพราะเสื้อผ้าสมัยใหม่มักนิยมใช้สายยืดเพื่อให้สวมใส่สบาย หรือหากพบว่าน้ำหนักตัวลดลงเรื่อยๆ ก็ควรต้องให้ความสนใจพร้อมทั้งสังเกตว่ามีการอ่อนเพลีย ง่วง ซึม หรืออาการที่แตกต่างไปจากปกติเกิดขึ้นด้วยหรือไม่ ถ้ามีอาการมากควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ สำหรับเด็ก ร่างกายมีการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่เหมาะสม ดังนั้น ควรหมั่นชั่งน้ำหนักตัวอย่างน้อยเดือนละครั้ง
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ เพื่อเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของคนไทย จึงให้ความสำคัญกับการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าเป็นไปได้ ควรกินข้าวซ้อมมือ เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีนและใยอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว ส่วนอาหารแป้ง เช่น ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ให้กินเป็นบางมื้อ อาหารแป้งเป็นอาหารที่ผ่าน-การแปรรูป ใยอาหารจะมีน้อยกว่าในข้าว
3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ อาหารหลัก 5 หมู่ ของไทยมีเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดแยกพืชผัก และผลไม้เป็นอาหารหลักคนละหมู่ เนื่องจากประเทศไทยมีพืชผักและผลไม้อุดมสมบูรณ์ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคได้ตลอดปี พืชผักและผลไม้ให้สารอาหารที่สำคัญหลายชนิด คือ วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร และให้สารอื่นที่มิใช่สารอาหาร เช่น สารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยไม่ให้อนุมูลอิสระทำลายเนื้อเยื่อและผนังเซลล์ ช่วยชะลอการเสื่อมสลายของเซลล์ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูสดใส ไม่แก่เกินวัย นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรที่ช่วยรักษาสุขภาพ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ เป็นการกินอาหารที่ให้โปรตีน โดยเน้นปลาและอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง เช่น เต้าหู้ชนิดต่างๆ สำหรับเนื้อสัตว์ให้เลือกที่ไม่ติดมัน หรือที่มีมันน้อย ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ ควรกินเป็นประจำ เด็กควรกินวันละฟอง ผู้ใหญ่ภาวะปกติควรกินวันเว้นวัน หรือสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง ส่วนคนที่มีปัญหาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือดควรลดปริมาณลง
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย บางคนอาจมองเห็นว่าน้ำนมเป็นอาหารของต่างชาติ ไม่ควรส่งเสริมการบริโภค น่าจะให้คนไทยไปบริโภคอาหารอย่างอื่นจะดีกว่า อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาโดยรวม จะเห็นได้ว่าน้ำนมเป็นอาหารที่มีประโยชน์สมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของโปรตีน แคลเซียม วิตามินบี 2 และแร่ธาตุต่างๆ นอกจากนี้น้ำนมเป็นอาหารที่กินง่าย ราคาไม่แพงเกินไป มีหลายชนิดหาได้ทั่วไป จีงเป็นการสะดวกที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับคนทุกวัย
ในกรณีที่ห่วงว่าดื่มนมมากๆ อาจทำให้อ้วน ผู้บริโภคสามารถเลือกดื่มนมพร่องไขมันได้ และในเวลาเดียวกันควรควบคุมปริมาณไขมันในอาหารชนิดอื่นด้วย เพราะเพียงไขมันจากน้ำนมอย่างเดียวไม่น่าที่จะทำให้เกิดโรคอ้วน ปริมาณที่แนะนำคือ เด็กควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุควรดื่มวันละ 1 แก้ว
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ถึงแม้ไขมันจะเกี่ยวข้องกับปัญหาโภชนาการ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูงที่นำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ร่างกายต้องการไขมันเพื่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เพียงแต่จะต้องควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันที่จะบริโภคให้เหมาะสม ลดอาหารที่มีไขมันมาก เช่น หมูสามชั้น ขาหมูพะโล้ และอาหารที่ใช้น้ำมันหรือกะทิจำนวนมากในการประกอบอาหาร
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ส่วนประกอบสำคัญของอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ได้แก่ น้ำตาล และเกลือแกง ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 2 ชนิดเมื่อบริโภคมากเกินไป พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง วิธีปฏิบัตินอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัดแล้ว ผู้บริโภคควรพยายามรับประทานอาหารที่มีรสธรรมดา ไม่ควรที่จะต้องเติมน้ำตาลหรือเกลือเพิ่มเติมในอาหารที่ปรุงแล้ว หรือหันมากินอาหารแบบไทยเดิม ที่มีกับข้าวหลายชนิดเพื่อให้เกิดรสชาติที่หลากหลาย
8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน การกินอาหารที่สะอาดนับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเชื้อโรค พยาธิ สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มีการผลิตที่ถูกต้อง มีการเก็บรักษาที่เหมาะสม อาหารสำเร็จรูปควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม สะอาด มีฉลากที่ถูกต้อง บอกวันหมดอายุ ส่วนประกอบ ชื่ออาหาร สถานที่ผลิต นอกจากนี้ผู้บริโภคควรมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การใช้ช้อนกลาง หรือใช้อุปกรณ์หยิบอาหารมากกว่าการใช้มือ
9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เมื่อดื่มมาก จะมีผลทำให้การทำงานของระบบสมองและประสาทช้าลง ทำให้เกิดการขาดสติได้ง่าย ที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคตับแข็งและการขาดสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด ดังนั้นควรลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด

http://www.nurse.cmu.ac.th/hf/nutrition1/nine.htm

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.3 เรื่อง สุขภาพดีด้วยอาหาร

อาหารที่เหมาะกับเพศและวัย
เด็กทารกถึงเด็กช่วงวัยเรียนต้องการปริมาณโปรตีนสูงกว่าวัยอื่น ๆ เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว วัยรุ่นและวัยกลางคนทั้งชายและหญิงต้องการพลังงานสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวันหนึ่งๆ มากกว่าวัยอื่น หญิงมีครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในระยะให้นมบุตรต้องการสารอาหารสูงกว่าบุคคลทุกวัย โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าความต้องการสารอาหารของแต่ละคน มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. อายุ
2. เพศ
3. รูปร่าง โครงสร้างร่างกาย
4. กิจกรรมต่างๆ ที่ทำ
5. ภาวะสุขภาพขณะนั้น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล โดยเราควรรับประทานอาหารให้ได้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่เราสามารถคำนวณการใช้พลังงานได้โดยใช้สูตรคำนวณได้ดังนี้
1.คำนวณพลังงานที่ใช้ต่อวันในภาวะร่างกายปกติ ด้วยสูตร BMR
ในภาวะปกติถ้าเราอยู่เฉยๆ เพียงแค่เดินไปเดินมา นั่งๆ นอนๆ อ่านหนังสือ ดูทีวี ร่างกายเราจะใช้พลังงานประมาณ 1600-2400 แคลอรี่ โดยขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ และโครงสร้างของร่างกาย เรียกการใช้พลังงานในภาวะปกตินี้ว่า Basal Metabolism Rate (BMR) โดยมีสูตรดังนี้
สำหรับผู้ชาย BMR = 66 + (13.7 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (5 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (6.8 x อายุ)
สำหรับผู้หญิงBMR = 665 + (9.6 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (1.8 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (4.7 x อายุ)
ตัวอย่างเช่น ผู้หญิง อายุ 35 ปี ส่วนสูง 165 ซม. น้ำหนัก 60 กก.
BMR จะเท่ากับ 665 + (9.6 x 60) + (1.8 x 165) – (4.7 x 35) = 1373.5 แคลอรี่


2.คำนวณพลังงานที่ใช้เมื่อมีการทำกิจกรรมเพิ่มเติมในแต่ละวัน
เมื่อเราทราบพลังงานที่เราใช้ในภาวะปกติทั่วไปต่อวันจากค่า BMR แล้วหากทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน หรือกิจกรรมการออกกำลังกายเพิ่มเติม ร่างกายก็จะมีการเผาผลาญพลังงานมาใช้มากขึ้น ซึ่งเราสามารถคำนวณพลังงานที่เราใช้เมื่อมีกิจกรรมเพิ่มเติมได้จากสูตรดังต่อไปนี้
2.1 นั่งทำงานอยู่กับที่ และไม่ได้ออกกำลังกายเลย = BMR x 1.2
2.2 ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเล็กน้อย ประมาณอาทิตย์ละ 1-3 วัน = BMR x 1.375
2.3 ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาปานกลาง ประมาณอาทิตย์ละ 3-5 วัน = BMR x 1.55
2.4 ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก ประมาณอาทิตย์ละ 6-7 วัน = BMR x 1.725
2.5 ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนักทุกวันเช้าเย็น = BMR x 1.725
ตัวอย่างเช่น BMR ของคุณ = 1502.9 คุณเป็นคนออกกำลังกายเล็กน้อย ก็เอา BMR x 1.375
นั่นคือปริมาณ แคลอรี่ที่ต้องการต่อหนึ่งวัน คือ 1502.9 x 1.375 = 2066.49 แคลอรี่

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.2 เรื่อง ทำไมเราต้องดื่มน้ำ

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.2 เรื่อง ทำไมเราต้องดื่มน้ำ
น้ำจัดเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อร่างกาย เพราะโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีน้ำอยู่ประมาณ 60 – 70 % ของน้ำหนักตัว น้ำเป็นส่วนประกอบของเลือด น้ำย่อย ฯ
ร่างกายของเราได้รับน้ำจากหลายๆ ทาง เช่น การดื่มน้ำโดยตรง, น้ำที่ปนมากับอาหาร, น้ำที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย ปกติร่างกายเราจะสูญเสียน้ำประมาณ 2.5 ลิตร ทางเหงื่อ ลมหายใจ และการขับถ่าย นอกจากน้ำแล้วร่างกายยังสูญเสียเกลือแร่ด้วย โดยเฉพาะเมื่อเล่นกีฬาร่างกายของเราก็จะเสียน้ำทางเหงื่อและลมหายใจมากกว่าปกติ หรือถ้าเราท้องเสียหรืออาเจียนแล้ว จะยิ่งทำให้ร่างกายของเราเสียน้ำมากมายจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
หน้าที่ของน้ำในร่างกาย
1. น้ำ เป็นตัวนำพาสารอาหาร ไปให้เซลล์
สารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป จะสามารถทำละลายได้ เมื่อมีน้ำเป็นตัวกลาง และถูกลำเลียงด้วยน้ำโดยการดูดซึมเพื่อนำไปสร้างพลังงานให้กับเซลล์ภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และน้ำอีกเช่นกันที่ทำหน้าที่ลำเลียงของเสียซึ่งถูกกำจัดออกจากร่างกาย
2. น้ำ เป็นตัวลำเลียงภูมิต้านทานและสารต้านอนุมูลอิสระ
อาการท้องผูกส่วนมากเป็นเพราะคนขาดน้ำเรื้อรัง ถ้าเราดื่มน้ำเพิ่มและรับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ อาการท้องผูกจะหมดไป มีการวิจัยพบว่า กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ และอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จะทุเลาลง ถ้าได้ดื่มน้ำมากขึ้น น้ำจะช่วยละลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่ออกมาพร้อมกับอุจจาระ มีผลทางอ้อมให้รีดสีดวงทวารทุเลาลงด้วย
3. น้ำ ช่วยควบคุมสมดุลของของเหลว และลดการสะสมของของเสีย ในร่างกาย
การขาดการพักผ่อนจะก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าและร่างกายสูญเสียน้ำ ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุล ของของเหลวในร่างกาย นอกจากนี้ความเครียดทางจิตใจ การรับประทานยามากเกินไป การรับประทานอาหารสำเร็จรูป และการรับประทานอาหารมากเกินไป ฯลฯ ก็ยิ่งทำให้ร่างกายต้องการน้ำมากยิ่งขึ้น หากไม่มีการเติมน้ำให้ร่างกายอย่างเหมาะสม ของเสียก็จะยิ่งตกค้างในร่างกายและเกิดปัญหาใหญ่ ซับซ้อนตามมาอย่างมากมายได้ การสะสมของเสียในร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นการเร่งให้เกิดกระบวนการแก่ชราเร็วขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
4. น้ำ ช่วยในระบบการหายใจ
ร่างกายต้องใช้น้ำเพื่อการหายใจ เมื่อเราหายใจเอาออกซิเจน ( O2 ) เข้าไปในปอด และ ขับถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ออกจากปอด ลมหายใจออกจากปอดของเราจะต้องมีน้ำเพื่อช่วยให้ความชุ่มชื้น
5. น้ำ ช่วยป้องกันไตวาย
ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสีย เช่น กรดยูริค (Uric Acid) ยูเรีย (Urea) และกรดแลคติค (Lactic Acid) ซึ่งละลายได้ในน้ำ ดังนั้น ถ้ามีน้ำผ่านไตไม่พอเพียง ของเสียเหล่านี้จะไม่ถูกขับออกมาได้หมด เป็นผลให้ไตทำงานหนักเกินไป จนกระทั่งพิการหรือไตวายได้ น้ำยังช่วยป้องกันการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้อีกด้วย
6. น้ำ ช่วยหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ
ปลายกระดูกที่ต่อกันเกิดเป็นข้อต่อ เช่น ข้อต่อกระดูกไขสันหลัง ถ้ามีน้ำไม่พอเพียงข้อต่อจะขยับได้ยาก ถ้าน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อพอเพียงข้อต่อจะเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก ทำให้การเสียดสีกันมีน้อยมากและอันตรายจากการถลอกตรงกระดูกอ่อน (Abrasive Damage) จะไม่เกิด ดังนั้น จึงลดความเสี่ยงของอาการปวดข้อ
7. น้ำ เป็นส่วนประกอบของสมองในปริมาณมากรองจากเลือด
เนื้อสมองมีน้ำมากถึง 85 % การขาดน้ำจะทำให้ความสามารถทางสมองลดลง ความคิดอ่อนล้า และเกิดอาการเครียดทางจิตใจตามมา
8. น้ำ ให้ผลกับการลดน้ำหนัก
น้ำเป็นสารอาหารที่ไม่มีแคลอรี่ จึงมีบทบาทในการลดน้ำหนัก การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยลดความอยากอาหารเมื่อรับประทานอาหารลดลง ทำให้ร่างกายต้องเผาผลาญไขมันที่เก็บไว้แทน
9. น้ำ ช่วยในระบบย่อยอาหารในทุกระดับ
ถ้าขาดน้ำการย่อยในทางเดินอาหารจะไม่สมบูรณ์ เพราะน้ำและเอ็นไซม์จะทำงานได้ไม่ดี ถ้าน้ำพอเพียง น้ำจะช่วยให้การแตกตัวของอาหารดีขึ้นและสามารถซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายอีกด้วย สารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป จะสามารถทำละลายได้เมื่อมีน้ำเป็นตัวกลางและถูกลำเลียงด้วยน้ำโดยการดูดซึม เพื่อนำไปสร้างพลังงานให้กับเซลล์ภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และน้ำอีกเช่นกันที่ทำหน้าที่ลำเลียงของเสียซึ่งถูกกำจัด ออกจากร่างกาย
10. น้ำ ช่วยในระบบภูมิต้านทาน
เนื่องจากเลือดมีองค์ประกอบเป็นน้ำถึง 92 % ดังนั้นน้ำจึงช่วยนำพาภูมิต้านทาน(Antibodies) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอม แต่ถ้าน้ำมีการปนเปื้อน หรือมีคุณสมบัติเป็นกรด ภูมิต้านทานก็จะไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมได้ ทำให้เกิดโรค รวมทั้งความแก่ชรา ก็จะเริ่มปรากฏให้เห็นก่อนวัยอันควรได้
11. น้ำ ช่วยในการเผาผลาญอาหาร
น้ำเป็นตัวกลางในทุกปฏิกิริยาเคมีในร่างกายและยังเป็นตัวทำละลายที่ดี จึงสามารถพาสารอาหาร ฮอร์โมน ออกซิเจน ฯลฯ ไปยังเซลล์ต่าง ๆ ผ่านทางเลือดและน้ำเหลือง ถ้าขาดน้ำ การเผาผลาญอาหารเพื่อเกิดพลังงานย่อมทำไม่ได้

12. น้ำ ช่วยสร้างสุขภาพที่ดี และชะลอความเหี่ยวย่นของผิวหนัง
เพราะร่างกายประกอบด้วยน้ำถึง 70 % ในเซลล์มีน้ำอยู่ร้อยละ 70 และมีดีเอ็นเอ (DNA เป็นตัวกำหนดต้นแบบ ของเซลล์เกิดใหม่ โดยมีรหัสจำเพาะ) ก็มีน้ำเช่นกัน ถ้าร่างกายขาดน้ำ จะมีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย เพราะปฏิกิริยาเคมีในร่างกายเสียสมดุล เกิดอาการผิดปกติ หากขาดน้ำเรื้อรัง จะทำให้ผิวหนังแห้งเหี่ยวย่น ความต้านทานโรคต่ำ แก่เร็ว
http://pakwan.igetweb.com/index.php?mo=3&art=157770
13. น้ำช่วยส่งกระแสกระตุ้นเซลล์ประสาท
พลังงานที่ถูกสร้างขึ้นจากน้ำในเซลล์จะช่วยส่งกระแสกระตุ้นเซลล์ประสาท ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยขนส่งสารเคมีที่ผลิตขึ้นจากสมอง ซึ่งจะนำคำสั่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยสารเคมีจากสมองจะถูกขนถ่ายผ่านช่องทางน้ำไปตลอดเส้นประสาท
14. น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยขณะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูง ร่างกายจะขับเหงื่อเพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายให้เข้าสู่ภาวะปกติ
http://gotoknow.org/blog/oh-phataranan/220863
สาเหตุการขาดน้ำ(Dehydration)
สาเหตุที่สำคัญ คือ ท้องร่วง และอาเจียน จากการติดเชื้อ เช่นอหิวาตกโรค โรคบิด หรืออาหารเป็นพิษ จะมีประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากการขาดน้ำปีละ1.5ล้านคน กลุ่มที่เสี่ยง คือ เด็กและทารก
ไข้สูงเสียเหงื่อมาก
ออกกำลังกายมาก และอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน ร่างกายจะเสียน้ำมากกว่าเกลือแร่ กลุ่มเสี่ยง คือ วัยรุ่นซึ่งน้ำหนักจะน้อกว่าผู้ใหญ่ และเป็นวัยที่ชอบออกกำลังกาย
เสียน้ำทางปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวานและเบาจืด ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะมากจนอาจจะเกิดไตวาย
ผิวหนังถูกไฟไหม้ ร่างกายจะสูญเสียน้ำทางน้ำเหลืองที่ไหลออกมา

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.1 เรื่อง สารอาหารต่างๆ

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 6.1 เรื่อง สารอาหารต่างๆ
สารอาหาร 6 หมู่
สารอาหาร nutrients คือ ส่วนประกอบของอาหารที่ถูกย่อยและพร้อมให้ร่างกายดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเจริญเติบโต
สารอาหารมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดให้ประโยชน์ต่างๆ กัน ดังนี้
1. โปรตีน Protein
เป็นสารอาหารที่มีมากในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ ถั่วชนิดต่าง ๆ ให้พลังงานแก่ร่างกาย 4 กิโลแคลอรี่ต่อโปรตีน 1 กรัม
ประโยชน์ของโปรตีน
1. ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต
2. ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
4. เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก

2. คาร์โบไฮเดรต Carbohydrate
เป็นสารอาหารที่ได้จากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวโพด เผือก มัน ผัก ผลไม้ที่มีรสหวาน ให้พลังงานแก่ร่างกาย 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม
ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไขมันได้ และจะถูกสะสมในร่างกาย
ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
1. ช่วยเผาผลาญไขมัน ทำให้เกิดพลังงานแก่ร่างกาย
2. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
3. ทำให้อวัยวะทุกส่วนทำงานได้.
3. วิตามิน Vitamins
เป็นสารอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ตับ เครื่องในสัตว์ โดยไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
วิตามิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. วิตามินที่ละลายในน้ำ
2. วิตามินที่ละลายในไขมัน
ประโยชน์ของวิตามิน โดยรวม
1. ทำให้ร่างกายทำหน้าที่ได้ตามปกติ
2. ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค
3. ทำให้มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง

4. เกลือแร่ Minerals
เป็นสารอาหารที่ได้จาก ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ไข่แดง อาหารทะเลทุกชนิด โดยไม่ให้พลังงานต่อร่างกาย
1.แคลเซียม
พบใน นม ไข่แดง ถั่ว ผักสีเขียว หอยนางรม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็ก ๆ
1. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
2. ช่วยในการทำงานของประสาท
1. ทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน
2. ฟันผุ
2.ฟอสฟอรัส
พบใน นม เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และผัก
ทำให้ทำงานร่วมกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน
3.เหล็ก
พบใน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ตับ หอย มะเขือ และผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบในฮีโมโกบิลในเม็ดเลือดแดง
4.ไอโอดีน
พบใน อาหารทะเลทุกชนิดและเกลือทะเล
ควบคุมการ เผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน
5.โซเดียม
พบใน เกลือ น้ำปลา กะปิ นม ไข่
ควบคุมความสมดุลของน้ำภายใน และภายนอกเซลล์
5. ไขมัน Lipid
เป็นสารอาหารที่ได้จากน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันปลา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว ถั่ว งา รำ ข้าวโพด เนย นม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 9 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม
ประโยชน์ของสารอาหารไขมัน
1. ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และพลังงานแก่ร่างกาย
2. เป็นตัวละลายวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค

6. น้ำ Water
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในร่างกายซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้น้ำยังช่วยละลายวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ รวมไปถึงการนำพาสารอาหารให้ไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ระบบการจัดสรรปันส่วนน้ำอย่างเหมาะสมของร่างกายจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าน้ำและสารเคมีต่างๆ เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ที่ถูกนำพาไปนั้นจะไปถึงอวัยวะที่สำคัญก่อนเป็นอันดับแรก เช่น สมอง หัวใจ ไต และปอด นอกจากนี้น้ำยังมีส่วนในการนำพาสารเคมีที่ผลิตและหลั่งออกจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแล้วปล่อยออกทางของเหลว (น้ำ) ที่อยู่รอบๆ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสารเคมีเหล่านี้ก็จะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
ร่างกายของเราจะเสียน้ำประมาณวันละ 4 ลิตร เราจึงจำเป็นต้องหาทางชดเชยน้ำที่เสียไปนี้โดยการดื่มน้ำในปริมาณเท่ากับปริมาณที่สูญเสียไปทุกวัน เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เราประสบภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง (Dehydration)ได้
http://gotoknow.org/blog/oh-phataranan/220863
ทริคในการจำ
- วิตามินที่ละลายน้ำ BC
- วิตามินที่ไม่ละลายน้ำ ADEK
- ประโยชน์ของวิตามินต่างๆ
เอ ตา(บำรุงเอ)
บี ชา(เหน็บชา)
ซี ลัก(ลักปิดลักเปิด)
ดี ดูก(กระดูก)
อี ผิว(บำรุงผิว)
เค เลือด(บำรุงเค)