วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 4.8 เรื่อง การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 4.8 เรื่อง การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ได้รับในรูปแบบต่างๆ กัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความอยู่รอดในการดำรงชีวิต พืชจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีชนิดหนึ่ง ซึ่งถึงแม้ว่าพืชจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่พืชมีการตอบสนองในหลายๆ รูปแบบเช่นกัน เช่น การหุบใบ การเปลี่ยนสี เป็นต้น
สิ่งเร้า หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกของสิ่งมีชีวิต เช่น แสง การสัมผัส ความชื้น ฮอร์โมน
การตอบสนองต่อสิ่งเร้า หมายถึง การแสดงออกของสิ่งมีชีวิตที่สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสิ่งเร้า
รูปแบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชแบบต่างๆ เช่น
การเบนเข้าหาหรือการหนีแสง พืชจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสง โดยส่วนของยอดลำต้นจะเจริญเข้าหาแสงสว่าง เช่น บริเวณป่าไม้ที่มีต้นไม้หน้าแน่น พืชจะมีลักษณะลำต้นสูงเพื่อแข่งขันกันรับแสงสว่าง ส่วนของรากจะเจริญหนีแสงสว่างเสมอ
อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลและทำให้เกิดการหุบ - บานของดอกไม้ ดอกไม้บางชนิดบานในเวลากลางวัน บางชนิดบานในเวลากลางคืน การบานของดอกไม้จะบานในช่วงที่เซลล์กำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตอยู่เท่านั้น เมื่อเซลล์เจริญเต็มที่แล้วจะไม่เกิดการหุบ - บานอีกต่อไป
การสัมผัส พืชบางชนิดมีการเคลื่อนไหวได้ช้าจนเรามองไม่เห็น แต่พืชบางชนิดมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อเราไปสัมผัส เช่น ต้นไมยราบ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการสูญเสียของน้ำภายในเซลล์ของกลุ่มเซลล์บริเวณก้านใบ ทำให้ใบหุบทันที แต่เมื่อน้ำค่อย ๆ ซึมกลับเข้ามาในกลุ่มเซลล์บริเวณก้านใบใหม่ใบก็จะบาน นอกจากนี้ยังพบในต้นกาบหอยแครงโดยจะใบเมื่อแมลงบินมาถูกจะหุบงับแมลง ใบพืชตระกูลถั่วจะมีการนอนในขณะดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า ต้นก้ามปูใบจะบานตอนกลางวันและหุบตอนกลางคืน
น้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืชโดยรากจะเคลื่อนที่เข้าบริเวณที่มีความชื้นและน้ำเท่านั้น
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Irritability) เป็นสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการดำรงชีวิต จำแนกออกได้ 2 แบบ คือ1. ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเนื่องจากการเจริญเติบโต1.1 แสงสว่างเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกและการเจริญเติบโตของลำต้นจะเคลื่อนไหวเบนเข้าหาแสงส่วนการงอกและการเติบโตของรากจะเคลื่อนไหวหนีแสง1.2 แรงดึงดูดของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกของรากจะเคลื่อนที่เข้าหาแรงดึงดูด1.3 อุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า เช่น การออกดอกและการงอกของเมล็ดพืชบางชนิดในอุณหภูมิต่ำๆ1.4 สารเคมีเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกของละอองเรณูที่ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย1.5 มีน้ำเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกและเจริญเติบโตของรากเข้าหาส่วนที่มีน้ำหรือความชื่น1.6 มีความสัมผัสเป็นสิ่งเร้า เช่น มือเกาะของพืชชนิดเลื้อย (ตำลึง องุ่น กระทกรก) เมื่อสัมผัสกับต้นไม้อื่นหรือเสา หรือหลักมันจะงอหรือเลี้ยวเข้าพันเอาไว้โดยรอบ เพื่อพยุงลำต้นเอาไว้2.การตอบสนองต่อสิ่งเร้าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ 2.1 การหุบของพืชบางชนิดตอนพลบค่ำเมื่อมีแสงเป็นสิ่งเร้า พืชที่มีลักษณะข้างต้น ได้แก่ ก้ามปู แค กระถิน ผักกระเฉด และถั่วต่างๆ2.2 การหุบใบของพืชบางชนิดเมื่อมีการสัมผัสหรือการกระเทือนเป็นสิ่งเร้า พืชบางชนิดเมื่อได้รับการสัมผัสหรือการสะเทือน กลุ่มเซลล์ที่โคนก้านใบจะสูญเสียน้ำให้กับช่องว่างระหว่างเซลล์ซึ่งจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และไม่ถาวร ได้แก่- การหุบใบของต้นไมยราบ ผักกระเฉด เมื่อถูกสัมผัสหรือถูกกระเทือน- การหุบใบของพืชพวกที่เปลี่ยนโครงสร้างมาจับแมลงเมื่อมีแมลงมาสัมผัส เช่น กาบ หอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง เป็นต้น2.3 การปิด – เปิดของปากใบ เมื่อมีแสงเป็นสิ่งเร้า- ในเวลากลางวัน เซลล์คุมมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง น้ำตาลในเซลล์คุมมีความเข้มข้นสูงกว่าเซลล์ข้างเคียง ทำให้น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่ผ่านเข้าสู่เซลล์คุมจนเซลล์คุมแต่งออกทำให้ปากใบเปิด- ในเวลากลางคืนเมื่อพืชไม่ได้รับแสงจึงไม่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้น ทำให้น้ำตาลในเซลล์คุมเข้มข้นน้อยกว่าเซลล์ข้างเคียง น้ำจากเซลล์คุมจึงสูญเสียออกไปให้เซลล์ข้างเคียง ทำให้เซลล์คุมเหี่ยว ปากใบที่อยู่ระหว่างเซลล์คุมจึงเปิดhttp://www.vcharkarn.com/vcafe/120484

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น