วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 5.6 เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 5.6 เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์

การคุ้มครองและสงวนรักษาพันธุ์สัตว์
การทำลายสัตว์ก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากมาย รัฐบาลได้ออกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่า เรียกว่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้น โดยให้ความหมายของสัตว์ป่าไว้ ดังนี้
สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำอย่างอิสระในธรรมชาติ ไม่มีใครเลี้ยงดูและเป็นเจ้าของ รวมทั้งไข่ของมัน

ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก ห้ามล่าโดยเด็ดขาด และห้ามมีไว้ในครอบครอง มี 15 ชนิด
1) นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 9) กวางผา
2) แรด 10) นกแต้วแล้วท้องดำ
3) กระซู่ 11) นกกระเรียน
4) กูปรีหรือโคไพร 12) แมวลายหินอ่อน
5) ควายป่า 13) สมเสร็จ
6) ละองหรือละมั่ง 14) เก้งหม้อ
7) สมันหรือเนื้อสมัน 15) พะยูนหรือดุหยง
8) เลียงผา

2. สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่มีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกอบด้วยสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 หมายถึง หมายถึง สัตว์ป่า ซึ่งคน ไม่ใช้ เนื้อเป็นอาหาร ไม่ล่าเพื่อการกีฬา เป็นสัตว์ที่ทำลายศัตรูพืช หรือขจัดสิ่งปฏิกูล หรือเป็นสัตว์ป่าที่ควรสงวนไว้เพื่อประดับความงามตามธรรมชาติหรือสงวนไว้เพื่อไม่ให้ลดจำนวนลง สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 นี้ ห้ามไม่ให้ล่าด้วยวิธีทำให้ตาย เว้นแต่จะทำเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ สัตว์ป่าประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นนก ได้แก่ นกกาน้ำทุกชนิด นกกระสา นกกระทาดง ไก่ฟ้าทุกชนิด นกโกโรโกโส นกกะปูด นกกะเต็น นกกางเขนบ้าน นกเขา นกเค้าแมวทุกชนิด นกเงือกทุกชนิด นกตีทอง ฯลฯ นอกนั้น ได้แก่ ค่างทุกชนิด ชะนีทุกชนิด ชะมด บ่าง แมวป่า ลิงลมหรือนางอาย ลิงทุกชนิด เสือลายเมฆ เสือไฟ เสือปลา หมีขอ หรือบินตุรง หมูหริ่ง หมาหริ่ง อีเห็น เป็นต้น
2) สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 หมายถึง หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งตามปกติ คนใช้เนื้อเป็นอาหาร หรือล่าเพื่อการกีฬา สัตว์ป่าประเภท มีหลายชนิด เช่น กระทิง กระจงทุกชนิด กวาง วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว หมีควายหรือหมีดำ หมีหมา หรือหมีคน ส่วนใหญ่ เป็นสัตว์ประเภทนกอีกเช่นเดียวกัน ได้แก่ นกกระสา นกกระทา ไก่ป่า นกแขวก นกเป็ดน้ำ นกปลาซ่อม ทุกชนิด นกพริก นกอีลุ้ม ฯลฯ สัตว์ป่า คุ้มครองประเภทที่ 2 นี้ ตามกฎหมายอนุญาตให้ล่าได้ ให้มีไว้ใน ครอบครองได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต และมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ตลอดเวลา

จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ห้ามมิให้ผู้ใดล่าและมีไว้ในครอบครอง ยกเว้น
1) เพื่อการสำรวจ 3 ) เพื่อการเพาะพันธุ์
2) เพื่อการศึกษา และการวิจัยทางวิชาการ 4 ) เพื่อกิจกรรมสวนสาธารณะของทางราชการ

ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ควรทราบมีดังนี้
· สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าชนิดใด ห้ามล่าสัตว์ เก็บรัง ครอบครองที่ดิน แผ้วถาง หรือเปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
· การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
· ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน
http://www.ku.ac.th/AgrInfo/wild/index.html
http://www.msu.ac.th/satit/studentProj/2547/pj102-2-2547/g03-Biological/A.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น