วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

องค์ประกอบและความสำคัญของดิน

ใบความรู้ กิจกรรมที่ 2.6 เรื่อง องค์ประกอบ
และความสำคัญของดิน

เราทราบแล้วว่าหินมีการผุพังและการกร่อน เมื่อหินเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแล้วหินจะกลายเป็นเศษแร่และหิน ที่เราเรียกว่า สารอนินทรีย์
ส่วนผสมของเศษแร่และหินซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ กับเศษซากสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสารอินทรีย์หรือฮิวมัส เมื่อสารอนินทรีย์ต่างๆ มาผสมเข้ากับอินทรียวัตถุก็จะกลายเป็นดิน กระบวนการเกิดดินจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ คือ หินต้นกำเนิดดิน สภาพผิวโลก ภูมิอากาศ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ หินต้นกำเนิดดินจะสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดดิน ดินแต่ละแห่งบนโลกจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของหินที่เป็นต้นกำเนิดนั่นเอง
ดินปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เพียงบางๆ เท่านั้น และแต่ละแห่งจะหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น ถ้าเป็นภูเขาที่ลาดชันจะมีดินค่อนข้างบาง
นอกจากดินจะมีส่วนประกอบเป็นแร่ธาตุและอินทรียวัตถุแล้ว ในดินยังมีน้ำและอากาศอยู่อีกด้วย ดินแต่ละชนิดจะมีสัดส่วนขององค์ประกอบทั้งสี่แตกต่างกันไป

ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกพืช ควรมีสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

  1. มีแร่ธาตุอาหาร ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ประมาณ 45%
  2. มีอินทรียวัตถุ ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืช ซากสัตว์ ประมาณ 5 %
  3. มีอากาศ แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดิน ประมาณ 25%
  4. มีน้ำ อยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดิน มีประมาณ 25%
ถ้าดินมีองค์ประกอบทั้ง 4 นี้ในปริมาณที่เหมาะสม พืชจะเจริญเติบโตได้ดี
ดินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของพืช พืชได้อาศัยดินเป็นแหล่งอาหารในการเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ และใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวลำต้น เมื่อพืชเติบโตก็ได้กลายเป็นอาหารของสัตว์และมนุษย์ต่อไป ดินจึงมีความสำคัญมากเพราะดินเป็นที่เกิดของปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืช สัตว์และมนุษย์ หากมีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายในดิน พืชก็จะดูดซึมสารพิษเหล่านั้นไว้ในลำต้น สัตว์และมนุษย์ที่ไปพืชก็จะได้รับสารพิษไปด้วย เราจึงต้องช่วยกันดูแลคุณภาพของดิน โดยการไม่ทิ้งสิ่งที่มีอันตรายลงในดิน เช่น ถ่านไฟฉายที่หมดแล้ว เป็นต้น
สำหรับพืชโดยทั่วไปจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซึ่งมีความชุ่มชื้นเหมาะสม แต่พืชบางชนิดเช่น ข้าวและบัว ชอบน้ำมากจึงชอบขึ้นในดินเหนียวเพราะดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดี ส่วนมันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยจึงชอบขึ้นในดินทรายเพราะดินทรายไม่อุ้มน้ำ ดังนั้นในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีดินต่างชนิดกันจึงมีพืชประจำถิ่นที่แตกต่างกัน

สถานการณ์ปัจจุบันและสภาพปัญหา
การใช้ทรัพยากรดินของประเทศไทยในปัจจุบัน มีปัญหาที่สามารถประมวลได้เป็น 4 ลักษณะ คือ

  1. การใช้ที่ดินผิดประเภท เช่น การบุกรุกทำลายป่า ซึ่งควรสงวนไว้เป็นต้นน้ำลำธาร มาทำไร่เลื่อนลอย หรือการใช้ที่ดินที่เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเขตอุตสาหกรรม พื้นที่ดังกล่าวมีอยู่ประมาณ ๓๐ ล้านไร่
  2. ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งเกิดจากการชะล้างพักทลายของดินและการขาดอินทรียวัตถุในดิน ปัญหานี้มีอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นปัญหาซึ่งพบมากที่สุดในประเทศไทย เป็นพื้นที่รวมกันถึง ๒๙๘ ล้านไร่
  3. สภาพธรรมชาติของดินไม่เหมาะสม เช่น ดินเปรี้ยว เกิดอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ประมาณ ๒.๓ ล้านไร่ ดินเค็ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ประมาณ ๑๗.๘ ล้านไร่ ดินเค็มและดินเปรี้ยวภาคใต้ เป็นพื้นที่รวม ๒.๔ ล้านไร่ ดินพรุ คือ ดินที่เกิดจากซากพื้นที่ทับถมกันยังไม่เกิดการสลายตัว และมีน้ำแช่ขังอยู่เกือบตลอดปี มีอินทรียวัตถุสูงมากเกินไป ทำให้มีโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือทำการเกษตร พื้นที่ดังกล่าวมีประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ทางภาคใต้
  4. ดินที่มีปัญหาจากสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกอบ เช่น บริเวณบางพื้นที่ในภาคตะวันอกเฉียงเหนือ (ทุ่งกุลาร้องไห้) ซึ่งแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ และที่ดินชายฝั่งทะเล ซึ่งยังมีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือที่ดินเหมืองแร่เก่า ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ำมาก ปัญหาสำคัญที่สุดและพบมากที่สุดในประเทศไทยคือ ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพขาดธาตุอาหารในดิน ที่ดินหลายล้านไร่กำลังเปลี่ยนสภาพในระยะเวลาอันใกล้ที่ดินหลายแห่งอาจจะไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป
    ปัญหาทั้งหลายนี้เป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมากเกินขนาดโดยขาดความรู้ ขาดความเข้าใจ และไม่ได้พยายามฟื้นฟูบำรุงรักษาธรรมชาติให้ฟื้นกลับคืนมาเป็นการทดแทน ที่ดินจึงกลายเป็นทรัพยากรที่กำลังเสื่อมคุณภาพ เพราะการใช้ประโยชน์ที่ไม่ถูกวิธี รวมทั้งในแง่ปริมาณพื้นที่ก็นับว่าน้อยลงไปเป็นลำดับด้วย เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น
    นอกจากนั้นปัญหาการครอบครองและกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็เป็นปัญหาสำคัญอีกด้านหนึ่งสำหรับเกษตรกร มีพื้นที่ ๖๖.๓ ล้านไร่ ซึ่งมีเกษตรกรทำกินอยู่โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ เลย และมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ครอบครัว หรือร้อยละ ๑๐.๗ ของครอบครัวเกษตรกรทั้งประเทศอยู่ในสภาพไร้ที่ทำกิน เมื่อรวมการเช่าที่ดินทั้งจากเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ และเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินแล้ว รวมพื้นที่เช่าทั้งหมดถึง ๑๔ ล้านไร่
    http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

เราทราบดีว่าดินมีประโยชน์ต่อเรามาก ดังนั้นพวกเราควรใช้ดินอย่างรู้คุณค่า โดยมีการอนุรักษ์และบำรุงดินหลายวิธี ดังนี้

การอนุรักษ์และบำรุงดิน
1. ใช้ปุ๋ยคอก คือ การใช้มูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง แกรบรองพื้นคอกสัตว์เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย
2. ใช้ปุ๋ยหมัก คือ การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจาการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังเข้าโพด ต้นถั่วต่างๆ ผักตบชะวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มามักจะเน่าเปลื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาและสวน
3. ใช้ปุ๋ยพืชสด คือ การไถกลบส่วนต่างๆ ของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าปลื่อยแป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก อาจปลูกแล้วไถกลบในช่วงที่ออกดอก หรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบลงในดิน
4. ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม เป็นต้น
5. ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดิน พื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดินเนื่องจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
6. ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์ เช่น เลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้
7. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตูอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาด ของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน
http://www.doae.go.th/ni/soilder/soil3.htm
http://www.chiangrai.net/CPOC/miniWeb/tea/new_page_6.htm

ประโยชน์ของการบำรุงดิน
1. ทำให้ดินจับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ร่วนซุย ไถพรวนง่ายระบายน้ำและอากาศได้ดี รากพืชก็จะเจริญเติบโตได้ดี
2. ทำให้ดินทนทานต่อการชะล้างดิขึ้น
3. ทำให้ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้น และลดการระเหยน้ำออกจากดิน
4. ทำให้ดินดูดซับธาตุอาหารพืชไว้เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากขึ้น
5. อินทรีย์วัตถุจะสลายตัว ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช
6. ทำให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์มากขึ้น
7. เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดิน ให้เป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น และลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ในระยะยาว
8. ทำให้ได้รับผลผลิตสูงขึ้ง และได้ผลผลิตี่มีคุณภาพดี
http://www.chiangrai.net/CPOC/miniWeb/tea/new_page_6.htm

13 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4/11/52 18:35

    ควรมีรูปภาพประกอบด้วยนะคะ
    ด.ญ.นิรินธนา ราตรีประสาทสุข ป.4/1 เลขที่ 22(เนม)

    ตอบลบ
  2. ด.ญ.สุชัญญา จันทเวช ป.4/2 เลขที่ 25 (เปรียว)5/11/52 22:33

    ควรจะมีภาพประกอบเยอะๆ เนื้อหาควรจะกระชับและเข้าใจง่าย ควรตกแต่งให้มากกว่านี้ค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ8/11/52 19:06

    ควรจะมีภาพประกอบ


    ด.ช.นนท์นิพัทธ์ วรชินาคมน์ เลขที่ 10 ป.4/2(นาย)

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ10/11/52 16:58

    น่าจะเขียนให้ตัวติดกันมากกว่านี้ค่ะ



    ด.ญ.กมลฉัตร ธิติหิรัญเจริญ (นะเม) ป.4/1 เลขที่26

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ11/11/52 18:28

    การปลูกหญ้าแฝกก็เป็นการอนุรักษ์และบำรุงดินด้วยใช่ไหมค่ะ


    ด.ญ.นันท์ภัส บุญเชิด(น้ำฟ้า)ป.4/1เลขที่17

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ11/11/52 20:06

    หญ้าแฝกเหมาะกับดินประเภทใดค่ะ

    ด.ญ.มัชฌิมากร รอดสุทธิ (มะอุง) ป.๔/๒ เลขที่ ๑๗

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ11/11/52 20:21

    ทุ่งกุลาร้องไห้ อยู่จังหวัดอะไรค่ะ หรือว่าภาคอีสานเรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้

    ด.ญ.มะอุง ป.4/2 เลขที่ 17

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. หิน ผุพัง,กร่อน กลายเป็นเศษหิน,แร่(อนินทรีย์) เมื่อรวมกับซากพืชซากสัตว์,ฮิวมัส,จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน(อินทรีย์) กลายเป็นดิน


    ด.ญ.นันท์นภัส บุญเชิด เลขที่ 17 ป.4/1

    ตอบลบ
  10. ควรมีภาพประกอบเนื้อหาให้มากกว่า เพราะมองไม่เห็นภาพ


    ด.ช.ธัญเทพ เพ็งพูลผล เลขที่ 3 ป.4/2

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ14/11/52 07:22

    ทำให้รู้ว่าประโยชน์ของดินมีอะไรและประกอบด้วยอะไรบ้าง
    อยากให้ครูฟ้า ช่วยลงรูปภาพให้ด้วย เพราะหยีอ่านแล้วถ้าไม่มีรูปภาพ
    ประกอบจะไม่ค่อยเข้าใจค่ะ

    ด.ญ. นภัสวรรณ ทองอยู่ (หยี) ป4/4 เลขที่ 27

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ15/11/52 16:55

    ควรมีภาพประกอบให้มากมากนะคะ เเละอย่าเขียนหัวข้อกับเนื้อหาติดกันมากนะคะเพราะจะทำให้อ่านอยากนะคะ


    ด.ญ .ศุภพิชญ์ มนัสศิริวิทยา เลขที่ 25 ป.4/1

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ19/12/52 12:02

    ครูฟ้า เมื่อไรจะเอาเรื่องอื่นมาลงค่ะ


    by...มิน

    ตอบลบ